ประวัติความเป็นมา
คณะแพทยศาสตร์เป็นคณะวิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอน การวิจัย เพื่อการผลิตแพทย์และให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนในบริบทของเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม (Agro-Medicine and Bio-Innovation) โดยมีประวัติการจัดตั้ง ดังนี้
ปี พ.ศ. 2563 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 12/2563 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการทบทวนการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ หรือวิทยาลัยการแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามที่ผู้แทนคณะกรรมการบริหารงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ก.บ.ม.) เสนอ โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ มอบหมายให้ รองศาสตราจารย์ ดร. สมหวัง ขันตยานุวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ ดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่การรับใช้สังคมและประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายขีดความสามารถโดยให้การศึกษา การวิจัยและการบริการวิชาการด้านการสาธารณสุขและการแพทย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างยั่งยืนบนฐานความเข้มแข็งทางวิชาการและองค์ความรู้ที่สั่งสมมานานกว่า 80 ปี
ปี พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ และเพื่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบัณฑิตขั้นสูงฯ รองศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง ขันตยานุวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดนี้ทำหน้าที่ดำเนินการทั้งมิติด้านวิชาการและด้านบริหารแก่มหาวิทยาลัย ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และภารกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่อธิการบดีมอบหมาย ตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ต่อมามีประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2564 เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยมีพลเอก นายแพทย์ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ พร้อมด้วยคณะกรรมการจากผู้ทรงคุณวุฒิจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ต่อมาที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์และเพื่อการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตได้พิจารณาเลือกโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี และโรงพยาบาลศูนย์สกลนคร จ.สกลนคร เป็นโรงพยาบาลสมทบหลักเพื่อผลิตแพทย์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปี พ.ศ. 2565 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2565 มีมติเห็นชอบในการจัดตั้ง “โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์” และในคราวการประชุมครั้งที่9/2565 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2565 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีมติอนุมัติหลักสูตร “แพทยศาสตรบัณฑิต” และมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริหารงานมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.) ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2565 ได้เห็นชอบในการเสนอสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พิจารณาการจัดตั้ง “คณะแพทยศาสตร์” และโอนสถานพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปพร้อมกัน
ในการนี้ สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2565 ได้มีมติอนุมัติจัดตั้ง “คณะแพทยศาสตร์” วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เพื่อดำเนินการจัดการเรียนการสอน การวิจัย เพื่อการผลิตแพทย์ และให้บริการทางการแพทย์ แก่ประชาชนในบริบทของเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม (Agro-Medicine and Bio-Innovation) จึงถือได้ว่าวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เป็นวันสถาปนาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565 ซี่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 139 ตอนที่ 305 ง พิเศษ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2565
โรงพยาบาลและสถาบันร่วมผลิตแพทย์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติหลักสูตรต่อแพทยสภา และวางแผนเปิดรับนิสิตรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2567 โดยมีความร่วมมือกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า (วพม.) ในการเป็นสถาบันผลิตแพทย์พี่เลี้ยง และได้เตรียมการก่อสร้างโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยจะวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในวาระครบรอบ 80 ปี พร้อมกันนี้ได้เตรียมการผลิตแพทย์ร่วมกับศูนย์การแพทย์ศาสตร์ศึกษา 2 ศูนย์ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
โรงพยาบาลหลัก
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตั้งอยู่ที่ เขตจตุจักร, กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันผลิตแพทย์พี่เลี้ยง
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ตั้งอยู่ที่ เขตราชเทวี, กรุงเทพมหานคร สังกัด กรมแพทย์ทหารบก
สถาบันร่วมผลิตแพทย์
ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสกลนคร
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสกลนคร, จังหวัดสกลนคร สังกัด กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี, จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด กระทรวงสาธารณสุข
ปรัชญา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถทางการแพทย์ที่มีความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางการเกษตร เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในชนบท สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เหมาะสม พัฒนาคุณภาพชีวิตและประชาชนในประเทศ มีความใฝ่รู้ และรู้จักพัฒนาความรู้บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ให้เกิดความงอกงามทางภูมิปัญญาที่เพียบพร้อมด้วยวิซาการ จริยธรรม และคุณธรรม สามารถชี้นำสังคมต้านวิชาการและดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุข โตยเน้นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางตามทฤษฎีประกอบสร้างนิยม (Constructivism) และนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรค รักษโรคที่พบบ่อยและรคที่ชับซ้อน ส่งเสริมสุขภาพ สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ได้ รวมทั้งศึกษาต่อในวิชชีพเฉพาะที่สนใจ สร้างงานทางวิขาการเพื่อช่วยพัฒนาการบริบาลทางการแพทย์ และงานบริบาลผู้ป่วยทั่วไป ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
ปณิธาน
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มุ่งมั่นสร้างบัณฑิตให้เป็นที่ยอมรับว่ามีอัตลักษณ์สำนึกดี มุ่งมั่นพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างสรรค์และประยุกต์ศาสตร์การแพทย์แห่งแผ่นดิน เพื่อความอยู่ดีกินดี มีสุขภาพที่ดีของประชาชน และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
วิสัยทัศน์
สถาบันการแพทย์ชั้นนำด้านเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม สร้างสรรค์ศาสตร์การแพทย์แห่งแผ่นดินสู่สากล
พันธกิจ
จัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ให้มี
อัตลักษณ์ทางเวชศาสตร์การเกษตร
และการประยุกต์ใข้ศาสตร์แห่งแผ่นดิน
ให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในระดับ
ตติยภูมิ และผลิตผลงานบริการวิชาการ
ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสากล
บริหารและการจัดการในระดับ
มาตรฐานสากล โปร่งใส
ผลิตผลงานวิจัยรวมทั้งชีวนวัตกรรมและ
สิ่งประดิษฐ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
และองค์ความรู้ใหม่
ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
และศาสตร์ของแผ่นดิน
ค่านิยม
K
U
M
E
D
= Knowledge ใฝ่รู้
= Unity สามัคคีเป็นหนึ่งเดียว
= Morality มีคุณธรรม
= Excellence พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
= Determination ทุ่มเทให้กับงานในหน้าที่
โครงสร้างคณะ
ผู้บริหาร
คณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์
- คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ประธานกรรมการ
- รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กรรมการ
- รองคณบดีฝ่ายวิจัย กรรมการ
- หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ กรรมการ
- หัวหน้าภาควิชาชีวเคมีและพันธุวิศวกรรม กรรมการ
- หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา กรรมการ
- หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว กรรมการ
- หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์การเกษตรและชีวนวัตกรรม กรรมการ
- หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา กรรมการ
- หัวหน้าภาควิชาแพทย์แผนไทย กรรมการ
- หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา กรรมการ
- หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา กรรมการ
- ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสกลนคร กรรมการ
- ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช กรรมการ
- นายแพทย์โอฬาร พรหมาลิขิต กรรมการ
- ศาสตราจารย์ พันเอก นายแพทย์วีระชัย วัฒนวีรเดช กรรมการ
- รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ดิลก ภิยโยทัย กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
- ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) นายแพทย์นิพนธ์ ฉัตรทิพากร กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
- นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
- นางธัญวรินทร์ ฐิติภัทรภูวนนท์ กรรมการและเลขานุการ
- นางสาวณาตยา ศักดิ์ถาวรเลิศ ผู้ช่วยเลขานุการ
- นางสาวสุชาวดี เพ็ชร์อำไพ ผู้ช่วยเลขานุการ