คำแนะนำสำหรับ Portfolio
คำแนะนำสำหรับ SOP
สามารถอ่านรายละเอียดเกณฑ์การคัดเลือกโครงการช้างเผือกได้ที่ :
คำแนะนำสำหรับ Portfolio
คำแนะนำสำหรับ SOP
สามารถอ่านรายละเอียดเกณฑ์การคัดเลือกโครงการช้างเผือกได้ที่ :
เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2567 คณาจารย์และบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ ได้เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบปีที่ 46 ณ ห้องโถงบุษราคัม ชั้น 1 อาคารสุวรรณวาจกกสิกิจ
สมัครได้ตั้งแต่ 15 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2567
ผ่าน https://www.admission.ku.ac.th
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ทาง Facebook ของคณะและจาก https://www.admission.ku.ac.th
พี่ๆ #KUMED01 รออยู่นะ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 รศ.พล.อ.ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ และบุคลากร ได้เข้าร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ครบรอบ 56 ปี ณ อาคารภูมิรัตน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2567 ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบเงินสนับสนุนจำนวน 1,500,000 บาท จาก ดร.นายแพทย์ กร ตาลทิพย์ และนางกมลรัตน์ ตาลทิพย์ (KU28) รวมถึงเงินบริจาคจากนิสิตเก่า KU28 อีกจำนวน 1,147,999 บาท เพื่อนำไปใช้ในการสนับสนุนคณะแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่งผลให้ยอดบริจาคสะสมจากนิสิตเก่า KU28 ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 6,824,899 บาท
ในวันที่ 27 กันยายน 2567 มูลนิธิทุนแพทย์เพื่อปวงประชา มอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567
โดยมอบทุนการศึกษาจำนวน 4 ทุน รวมมูลค่า 240,000 บาท เพื่อสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของนิสิตแพทย์ ในพิธีมอบทุนนี้ รศ.พล.อ.ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประธานมูลนิธิทุนแพทย์เพื่อปวงประชา ที่ปรึกษา กรรมการ ได้ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีมอบทุนด้วย
ภายในงานเต็มไปด้วยการบรรยายที่เข้มข้นและกิจกรรม workshop ที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน เพื่อเตรียมความพร้อมให้อาจารย์สร้างทักษะสำคัญให้กับนิสิตแพทย์ เช่น การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัยโรค และการให้การรักษา โดยใช้ผู้ป่วยจำลอง ที่มอบประสบการณ์จริงโดยไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยจริง
ข้อดีของผู้ป่วยจำลอง:
ความปลอดภัย: นิสิตสามารถฝึกปฏิบัติได้อย่างปลอดภัย ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดความผิดพลาดกับผู้ป่วยจริง
ความยืดหยุ่น: สามารถปรับเปลี่ยนสถานการณ์จำลองให้สอดคล้องกับความต้องการและระดับความรู้ของนิสิตได้
การทำซ้ำ: นิสิตสามารถฝึกปฏิบัติซ้ำได้หลายครั้ง จนกว่าจะเกิดความชำนาญ
การให้ Feedback: ผู้สอนสามารถให้ Feedback แก่นิสิตได้ทันทีหลังจากการฝึกปฏิบัติ
การประเมินผล: สามารถประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตได้อย่างเป็นรูปธรรม
ในวันอังคารที่ 24 กันยายน 2567 รศ.นพ.อดิศักดิ์ นารถธนะรุ่ง รองคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมคณาจารย์และบุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2567 ณ ลานหน้าศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช
วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย”
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
#KUMED01 ทำอะไรบ้างนะ
ก่อนเริ่มทำแผนต้องมีความรู้ก่อนว่าต้องเขียนโครงการ ติดต่อ จัดซื้อจัดจ้าง ใบเสร็จต่างๆ ต้องทำอย่างไร ซึ่งมีพี่ๆบุคลากรของคณะแพทย์มาให้ความรู้ และวิธีการทำโครงการให้สำเร็จลุล่วงในบรรยากาศเป็นกันเอง อบอุ่นและสนุกสนาน หลังจากนั้นได้ระดมความคิดกันเองในสโมสรนิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อคิดกิจกรรมที่จะทำในปีที่จะถึงนี้ โดยมีพี่ๆและอาจารย์ช่วยแนะนำ คิดกันอย่างจริงจังมากจนลืมว่าพักแล้ว นอกจากความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับและงานที่ได้ออกมาแล้ว เหล่า KUMDSU ยังได้ไปเรียนรู้วิถีชีวิตริมน้ำของชาวอัมพวา รวมทั้งมีเสียงหัวเราะและความสนุกสนานตลอดกิจกรรม ไว้จะมาอัพเดตกิจกรรมอันแสนอบอุ่นและสนุกสนานของชาว #KUMED#KUMDSU ใหม่นะ